แชร์

ป้องกันอย่างไร ไม่ให้ไฟไหม้ Fill Pack

อัพเดทล่าสุด: 2 ก.พ. 2024
982 ผู้เข้าชม
ป้องกันไฟไหม้-Fill-Pack

หลังจากที่เราลงบทความเล่าเรื่อง Fill Pack PVC ที่มีคุณสมบัติไม่ติดไฟ แต่สามารถทำให้ไฟไหม้คูลลิ่งทาวเวอร์ของท่านได้ บทความได้รับเสียงตอบรับที่ดีมากครับ มีการถกเถียงกันในหลายประเด็นและหลายหลายท่านมีความสงสัยที่ตรงกัน มีการสอบถามเราเข้ามาอย่างต่อเนื่องเลยครับว่า แล้วมันป้องกันได้ไหม มีวิธีการหรือแนวทางอะไรในการป้องกันบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดเหตุไฟไหม้ขึ้นได้อีก

บทความนี้เราจะพูดถึงเกี่ยวกับวิธีการ แนวทางการป้องกัน ไม่ให้ Fii Pack เกิดไฟไหม้ขึ้น เพื่อไม่ให้เหตุกาณ์ร้ายแรงเกิดขึ้นกับคูลลิ่งของท่านและให้ท่านมั่นใจได้ว่าคูลลิ่งทาวเวอร์จะไม่เกิดเหตุไฟไหม้จาก Fill Pack แน่นอน

แต่ก่อนจะเข้าเรื่องของวันนี้ หากนี่คือการเข้ามาอ่านบทความของเราครั้งแรก ขออนุญาตแนะนำตัวสักนิดนะครับ

เรา, อินโนเว็ค เอเซีย ผู้ผลิตคูลลิ่งทาวเวอร์อันดับหนึ่งของประเทศไทยมาตรฐานระดับโลก ด้วยแนวคิดที่ไม่เคยหยุดพัฒนา ค้นคว้าหานวัตกรรมใหม่ๆ อยู่เสมอ บวกกับประสบการณ์ที่สะสมมากว่า 15 ปี เราจึงเป็นผู้นำด้านการผลิตคูลลิ่งทาวเวอร์ ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าให้ทั้งออกแบบ ติดตั้ง คูลลิ่งทาวเวอร์ รวมไปถึงการซ่อม คูลลิ่งทาวเวอร์ การันตีได้ด้วยผลงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเพื่อตอกย้ำความเชี่ยวชาญที่เรามีในด้านนี้ บทความให้ความรู้ในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับคูลลิ่งทาวเวอร์เลยถูกเขียนขึ้นมา เพื่อลงใน Knowledge Center ให้ทุกท่านได้อ่านกัน รวมถึงบทความที่ท่านกำลังอ่านอยู่นี่ด้วยครับ

รู้จักกันแล้วนะครับ ขอกลับเข้าเรื่องกันต่อเลย

Fill Pack ที่อินโนเว็คเรียกหรือที่บางท่านอาจจะเรียกว่า แผงรังผึ้งบ้าง Film Fill บ้าง และยังมีที่เรียกต่างกันไปอีก ทั้ง filler Fill, Filling, fill sheet, แผงระบายความร้อน ฯลฯ ซึ่งนอกจาก Fill Pack จะมีหลายชื่อแล้ว ก็ยังมีหลายยี่ห้ออีกด้วยครับ และนอกจากจะมีหลายยี่ห้อแล้ว Fill Pack ยังผลิตได้จากหลายวัสดุ ทั้งเคลมว่าเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติไม่ติดไฟบ้าง ดับไฟได้เองบ้าง แต่อย่างที่เราได้เขียนไปในบทความก่อนหน้านี้ว่า มันไหม้นะ ถ้าใครยังไม่ได้อ่านบทความนั้น คลิกตรงนี้ เลยครับ Fill Pack PVC ไม่ติดไฟ แต่สามารถทำให้ไฟไหม้คูลลิ่งทาวเวอร์ได้ ?

ณ ปัจจุบันเลย วัสดุในการผลิต Fill Pack ที่ใช้อยู่ในคูลลิ่งทาวเวอร์ของลูกค้าส่วนใหญ่ที่เราพบ จะมีอยู่ 2 วัสดุ คือ PVC และ PP

แอบขยายความให้เห็นคุณสมบัติ (ที่ผู้ขายการันตี) ของ Fill Pack ที่ผลิตจากแต่ละวัสดุ

PVC (Poly Vinyl Chloride ) เป็นเทอร์โมพลาสติกที่มีการใช้งานอย่างกว้างขวาง ทนต่อน้ำ, น้ำมัน,กรด,ด่าง,แอลกอฮอล์ และสารเคมีต่างๆ เมื่อเกิดการติดไฟมันจะดับได้ด้วยตัวเอง

ส่วน PP ( Poly Propylene ) ที่เป็นเทอร์โมพลาสติกเหมือนกัน แต่มีน้ำหนักที่เบากว่า เหนียว ทนต่อแรงดึง แรงกระแทกและมีความคงตัวไม่เสียรูปง่าย

ขอขยายความเรื่องเทอร์โมพลาสติกเพิ่มเติมอีกนิดนะครับ เผื่อหลายท่านสงสัยว่ามันคืออะไร

เทอร์โมพลาสติกเป็นชื่อเรียกชนิดของพลาสติกครับ เป็นพลาสติกที่ใช้กันมากที่สุดในโลก พลาสติกประเภทนี้สามารถนำกลับมารีไซเคิลใหม่ได้ โดยการบดและหลอมด้วยความร้อนเพื่อขึ้นรูปใหม่

กลับเข้ามาเรื่องของคำถามกันนะครับ

ไหนๆ จะตอบคำถามเรื่องวิธีป้องกันไฟไหม้ที่เกิดจาก Fill Pack ที่ผลิตจาก PVC แล้ว เราแอบแถมวิธีการป้องกันไฟไหม้ของ Fill Pack ที่ผลิตจาก PP ด้วยแล้วกัน

     1. หากใช้ PVC Fill ซึ่งคุณสมบัติตัวมันเองดับไฟได้เพราะมีก๊าซมาปกคลุม เราต้องไม่ให้เกิดการดึงก๊าซออกไปคือต้องหยุดการทำงานของพัดลมในคูลลิ่งทาวเวอร์ และเมื่อองค์ประกอบของการเกิดไฟไม่ครบไฟมันก็จะดับเองหรือเราสามารถทำได้โดยการสเปรย์น้ำทิ้งไว้ก็ช่วยได้ เมื่อลูกไฟโดนน้ำไฟก็ดับเอง

    2.หากใช้ PP Fill จะต้องเติมสารป้องกันการลามไฟหรือ Fire retardant ซึ่งราคาจะสูงขึ้นมาอีกประมาณ30% จาก PP fill ที่ไม่ได้เติมสารกันการลามไฟ

ตอนเลือกซื้อให้เลือกเอาตามที่เหมาะสม ตามลักษณะของการใช้งาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุ เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ขึ้นมาแล้ว มูลค่าความเสียหายมีมากกว่าที่ตาเราเห็นแน่นอน ไหนจะเสียหายทั้งทรัพย์สิน สูญเสียรายได้ ทรัพยากร คนและเวลา
 
อย่างเคสล่าสุด ที่เกิดเหตุไฟไหม้คูลลิ่งทาวเวอร์ของโรงไฟฟ้าแห่งหนึ่งเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา

ทางเราได้รับเกียรติจากลูกค้าให้เข้าไปช่วยหาสาเหตุและร่วมแก้ไขปัญหาของคูลลิ่งทาวเวอร์ที่เกิดไฟไหม้  หลังจากที่เราได้เข้าไปช่วยเหลือลูกค้าแล้ว เลยพอจะสรุปสาเหตุของการเกิดไฟไหม้ได้คราวๆนะครับ คือเหตุเกิดจากการใช้ Fill PP แล้วไม่ได้เติมสารป้องกันการลามไฟ ซึ่งตัว Fill Pack ผลิตจาก PP เองก็ไม่มีคุณสมบัติที่สามารถดับไฟได้อยู่แล้ว เมื่อมีประกายไฟเกิดขึ้น ไฟก็เริ่มลุกลามจนไหม้อุปกรณ์ต่างๆ ในคูลลิ่งทาวเวอร์ ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็น  Gear / Fan / Shaft /Motor /Fan stack ไฟไหม้หมดครับ นี่ยังไม่รวมโครงสร้างของคูลลิ่งอีก จะต้องมาประเมินว่าโครงสร้างยังสามารถใช้ได้อยู่ไหมและการทำให้คูลลิ่งทาวเวอร์ กลับมาทำงานได้ใหม่ต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน อันนี้คืออย่างเร็วที่สุดนะครับ 

แล้วคิดดูหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้กับคูลลิ่งของท่านและจะต้องหยุดผลิตไป 3 เดือน ลองคำนวณดูนะครับว่าท่านจะสูญเสียรายได้ไปเท่าไหร่

รูปความเสียหายของคูลลิ่งทาวเวอร์ที่เกิดเหตุไฟไหม้

เพราะฉะนั้นการเลือกใช้ Fill Pack จึงเป็นเรื่องสำคัญนะครับ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงตั้งแต่แรก


สุดท้ายนี้ ท่านผู้อ่านได้รู้จักเราผ่านตัวอักษรในบทความนี้บ้างแล้ว เราไม่อยากเป็นผู้เล่าอยู่ฝ่ายเดียว เราอยากเรียนรู้ประสบการณ์จากท่านผู้อ่านด้วยเช่นเดียวกัน ส่งข้อความมาพูดคุยกัน ได้ที่ coolingexpert@innovek.co.th หรือทางไลน์ คลิกปุ่มสีเขียวขวามือของจอได้เลยครับ

พูดคุยกับเราไม่มีค่าใช้จ่ายนะครับ ! พร้อมให้ความรู้ ตอบทุกข้อสงสัย พร้อมดูแลเสมอครับ !

บทความที่เกี่ยวข้อง
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy และ Cookies Policy
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ