share

4 แถม 2 วิธีเตรียมคูลลิ่งให้พร้อมรับมือหน้าร้อน

Last updated: 5 Apr 2024
343 Views
วิธีเตรียมคูลลิ่งให้พร้อมรับมือกับหน้าร้อน

ฤดูร้อนและร้อนมาก เริ่มมาเยือนประเทศไทยแล้ว ยิ่งช่วงเดือนเมษาเป็นเดือนที่ประเทศไทยร้อนที่สุด ตอนนี้อุณหภูมิพุ่งสูงไปถึง 50 องศากันเลย ซึ่งอุณหภูมิที่สูงขึ้นนี้ ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ เช่น หากเป็นสิ่งมีชีวิตก็อาจจะเกิดปัญหาสุขภาพหรือส่งผลต่ออาการของโรคประจำตัว ส่วนอุปกรณ์ เครื่องมือหรือเครื่องจักร อาจมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานลดลง ทำงานได้ไม่เต็มกำลัง


โดยเฉพาะอุปกรณ์ เครื่องจักร ที่มีระบบการทำงานเกี่ยวข้องกับอุณหภูมิ มีการติดตั้งอยู่กลางแจ้ง อย่างเช่น คูลลิ่งทาวเวอร์ อาจมีผลกระทบพอสมควร ดังนั้นการเตรียมตัวในการดูแลตนเองหรืออุปกรณ์เครื่องมือ เพื่อรับมือกับสภาพอากาศที่ร้อนมากเป็นเรื่องสำคัญนะครับ


ในบทความนี้จะมาพูดถึง การเตรียมความพร้อมของ Cooling Tower กันนะครับ แต่ก่อนที่จะเข้าเรื่อง

จะขออนุญาตแนะนำตัวสักนิดนะครับ เรามีเขียนไปหลายบทความแล้ว เผื่อบางท่านเข้ามาอ่านบทความนี้เป็นบทความแรก จะได้รู้จักเราครับ แต่สำหรับท่านที่รู้จักเราแล้ว ข้ามท่อนนี้ได้เลยครับ

เรา, อินโนเว็ค เอเซีย เป็นผู้ผลิตคูลลิ่งทาวเวอร์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประเทศไทย โดยได้มาตรฐานระดับโลก มีทีมงานที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านสินค้าและบริการมากกว่า 15 ปี เปิดให้บริการแบบครบวงจร ตั้งแต่ออกแบบ ติดตั้ง รวมไปถึงการตรวจสอบสภาพและซ่อมบำรุงคูลลิ่งทาวเวอร์ เรามีทีม R&D พร้อมวิจัยพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง การันตีด้วยผลงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ

เรารู้จักกันแล้วนะครับ มาเข้าเรื่องกันต่อดีกว่าครับ


การเตรียม Cooling Tower ให้พร้อมรับมือกับหน้าร้อนที่กำลังมาเยือนประเทศไทยนั้นหรือจริงๆ จะเรียกได้ว่าหน้าร้อนไม่เคยหายไปจากประเทศไทยเลย มีแต่ร้อนกับร้อนมากขึ้น การเตรียมความพร้อมจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดตามมาได้

วิธีการเตรียมคูลลิ่งทาวเวอร์ให้พร้อม

ตรวจสอบระบบของคูลลิ่งทาวเวอร์ : ตรวจสอบว่าระบบของ Cooling Tower ทำงานอย่างถูกต้องหรือไหม โดยการตรวจสอบระบบการทำงานทั้งหมดภายในคูลลิ่งทาวเวอร์ ทั้ง Rotating Part และ Static Part อย่างเช่น ตรวจสอบการทำงานของใบพัดคูลลิ่งทาวเวอร์หรือตรวจสอบท่อกระจายน้ำว่ามีการรั่วไหลหรือมีความเสียหายใดๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของระบบคูลลิ่ง

Preventive Maintenance (PM) : ทำการซ่อมบำรุงและตรวจสอบการปรับตั้งค่าอุปกรณ์ Rotating ให้ทำงานอยู่ในระดับที่เหมาะสม เพราะสำหรับอุปกรณ์ Rotating ในคูลลิ่งทาวเวอร์เป็นอุปกรณ์สำคัญ หากเกิดความเสียหายอาจส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ส่วนอื่นได้

ภาพที่ 1 : ซ่อมบำรุงและตรวจสอบการปรับตั้งค่าอุปกรณ์ Rotating

รักษาความสะอาด : การรักษาความสะอาดของ Cooling Tower โดยเฉพาะแผงระบายความร้อนหรือที่เราเรียกกันว่า Fill pack หากมีการใช้งานมานานแล้วอาจเกิดตะกรัน(Fouling) ขึ้นได้ ทำให้พื้นที่แลกเปลี่ยนความร้อนลดลง จะต้องทำการล้างด้วย High-pressure water jet หรือถ้ามีตะกรันเยอะ จะต้องเปลี่ยนใหม่ครับ หากท่านไม่อยากเปลี่ยน Fill pack บ่อยๆ ผมแนะนำให้ดูแลตั้งแต่ต้นเลย คือเรื่องของคุณภาพน้ำ คุณภาพน้ำที่ดีจะทำให้ Fill pack ไม่อุดตันด้วยFouling และยืดอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้น

ภาพที่ 2 : Fill pack สกปรก

ตรวจสอบระดับน้ำ : ต้องตรวจสอบระดับน้ำใน Cooling Tower สม่ำเสมอ เนื่องด้วยสภาวะอากาศร้อนทำให้น้ำสามารถระเหยได้เร็วขึ้นกว่าปกติ การเติมน้ำเพิ่มจะช่วยให้ระบบคูลลิ่งมีความสมดุลและคงประสิทธิภาพการทำงานที่ดีไว้


ผมขอแถมอีก 2 ข้อ ที่ไม่ใช่วิธีการเตรียมตัวคูลลิ่งทาวเวอร์ แต่เรียกว่าเป็นกรณีศึกษาแบบสั้นๆดีกว่าครับ ศึกษาไว้ก่อนทำการติดตั้งอุปกรณ์หรือไว้ตรวจสอบคูลลิ่งทาวเวอร์

กรณีศึกษานี้ได้มาจากการเข้าไปแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าเหมือนเดิม เพราะเดือนนี้ทางผมได้รับการติดต่อมาจากลูกค้าหลายรายว่า Cooling tower ช่วงนี้ มีการทำงานที่ผิดปกติ ไม่สามารถลดอุณหภูมิของน้ำได้เหมือนก่อนหน้านี้ โดยปัญหาหลักๆที่ผมเจอ สรุปได้ตามนี้

คูลลิ่งทาวเวอร์ของลูกค้า ณ โรงงานน้ำตาลแห่งหนึ่ง ไม่สามารถลดอุณหภูมิได้ตามสเปคที่ออกแบบไว้ โดยสเปคที่ออกแบบไว้คือ คูลลิ่งทาวเวอร์ต้องทำอุณหภูมิลดลง 13 องศา แต่เมื่อทดสอบระบบหลังทำการก่อสร้างคูลลิ่งเรียบร้อย ปรากฏว่า คูลลิ่งทาวเวอร์ทำอุณหภูมิลดลงได้แค่ 8 องศา ทำให้คูลลิ่งทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ลูกค้าสูญเสียโอกาสในการผลิตมหาศาล

ส่วนวิธีการตรวจสอบสาเหตุที่คูลลิ่งลดอุณหภูมิไม่ได้ตามการออกแบบนั้น จะต้องตรวจสอบว่ามีการใช้งานคูลลิ่งตรงตามการออกแบบหรือไม่ เช่น การตรวจสอบ Flow น้ำ, เช็ค Air Flowและอุณหภูมิน้ำที่ส่งเข้าคูลลิงทาวเวอร์ หากตรวจสอบทั้งหมดแล้วไม่พบความผิดปกติ นั้นหมายความว่า ความผิดปกติที่เกิดขึ้นเกิดจากการออกแบบคูลลิ่งทาวเวอร์ การแก้ไขคือต้องแก้ที่การออกแบบหรืออัพเกรดคูลลิ่งทาวเวอร์ แต่ถ้าอยากแก้ที่ต้นต่อจริงๆ ผมแนะนำให้เลือกผู้ให้บริการคูลลิ่งทาวเวอร์ที่มีความน่าเชื่อถือ ดูที่ประสบการณ์ของทีมงาน​และ​customers reference ของผู้ให้บริการ โดยเน้นที่คุณภาพไม่เน้นที่ราคานะครับ

ลูกค้าใช้ใบพัดที่ประหยัดพลังงาน 40% แต่ไม่ได้ประหยัดอย่างที่คิด โดยเทคนิคที่ผู้ให้บริการคูลลิ่งบางรายใช้ในการทำให้ใบพัดประหยัดพลังงานนั้น คือการลดมุมใบพัดลง ซึ่งมันคือเรื่องจริงครับ มุมใบพัดลดลงก็จะกินพลังงานน้อยลง แต่ผลที่ตามมาคือ Air Flow ที่ได้ไม่เต็ม พอถึงช่วงอากาศร้อนขึ้น Air Flow ทำงานไม่ได้ประสิทธิภาพจากที่จะประหยัดกับสูญเสียพลังงานมากยิ่งขึ้น


ซึ่งวิธีการแก้ไขคือ ทำการปรับมุมใบพัดขึ้นให้ปริมาณลมตรงกับที่ออกแบบไว้ตั้งแต่แรกครับ ซึ่งเรื่องเกี่ยวกับใบพัดประหยัดพลังงานผมเคยเขียนไว้นานแล้ว หากต้องการศึกษาอย่างละเอียด คลิกที่นี่ นะครับ


ไม่ว่าผมจะเขียนผ่านไปกี่บทความ ผมยังคงย้ำเสมอว่า ให้เลือกผู้ให้บริการคูลลิ่งทาวเวอร์ที่มีความน่าเชื่อถือ ได้มาตรฐาน มีประสบการณ์ที่เชียวชาญ คูลลิ่งทาวเวอร์ของท่านก็จะทำงานเต็มประสิทธิภาพ ไม่มีปัญหาเล็กๆน้อยๆ มาให้กวนใจ


----------------------------------------------------


หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่าน หากท่านมีคำถามคูลลิ่งทาวเวอร์ หรือมีไอเดียสำหรับบทความถัดไปของเรา เสนอแนะและพูดคุยกันได้ที่อีเมล coolingexpert@innovek.co.th นะครับ เราให้คำปรึกษา/ตอบคำถาม ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย

หากท่านชื่นชอบบทความของเราและอยากติดตามอัพเดทเพื่อไม่ให้พลาดบทความใหม่ๆ >> คลิกที่นี่ << เพื่อกด Like และกด Follow เพจของเราไว้ ทุกครั้งที่มีบทความใหม่ๆเราจะโพสต์บนเพจของเรา หากไม่สามารถคลิกได้ ท่านสามารถค้นหาคำว่า Innovek Asia ในช่องค้นหาของ Facebook ได้เลยครับ หรือหากไม่สะดวกจะติดตามกันที่ Facebook ท่านสามารถเพิ่มเพื่อนเราทาง LINE: @innovek เมื่อมีบทความหรือข่าวสารใหม่ๆ ท่านจะได้รับการแจ้งเตือนเหมือนกันกับการกดติดตามในเพจ Facebook เลยครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ