share

ทำไมต้องทำ PM ให้กับ Cooling Tower ของโรงงาน

Last updated: 27 Aug 2024
509 Views
PM-Cooling-Tower

ในปัจจุบัน Cooling Tower เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการดำเนินงานของโรงงานอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้า เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของระบบระบายความร้อนที่จำเป็นสำหรับเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ในโรงงาน หากระบบ Cooling Tower มีปัญหาหรือหยุดทำงาน ก็จะส่งผลกระทบต่อการผลิตและการดำเนินงานของโรงงานโดยรวม ดังนั้น การทำ Preventive Maintenance หรือที่เราเรียกสั้นๆ ว่า การทำ PM ให้กับ Cooling Tower จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาและรักษาประสิทธิภาพการทำงานของระบบ

 

ความสำคัญของการทำ PM ให้กับ Cooling Tower

  • ป้องกันการเสียหายของเครื่องจักรและอุปกรณ์ หากระบบ Cooling Tower มีปัญหาหรือหยุดทำงาน จะส่งผลให้เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ในโรงงานเกิดความร้อนสะสม ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียหายของเครื่องจักรและอุปกรณ์ดังกล่าว การทำ PM จะช่วยป้องกันปัญหาเหล่านี้ และยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักรให้ยาวนานขึ้น
  • ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม การทำ PM จะช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับ Cooling Tower ก่อนที่จะเกิดความเสียหายขึ้น ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมและเปลี่ยนอะไหล่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
  • รักษาประสิทธิภาพการทำงานของระบบ การทำ PM จะช่วยให้ Cooling Tower ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถระบายความร้อนได้ตามที่ออกแบบไว้ ซึ่งจะส่งผลให้การผลิตของโรงงานเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ


ขั้นตอนการทำ PM ให้กับ Cooling Tower

1. ตรวจสอบและปรับแนวของเครื่องจักร (Re-alignment) เพื่อป้องกันเครื่องจักรไม่ให้เกิดความเสียหาย จากการสั่นสะเทือน ซึ่งอาจทำให้เครื่องจักรเสียหายก่อนเวลา

2. ตรวจสอบและปรับมุมใบพัด เพื่อป้องกันการเกิดการสั่นสะเทือน เพราะเมื่อมีการใช้งานไปสักระยะน็อตจะเกิดการคลายตัวจากแรงที่กระทำ จึงต้องมีการตรวจสอบและปรับมุมใบพัดให้ทำงานได้ตามประสิทธิภาพที่ออกแบบไว้

3. เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ ให้เปลี่ยนตามระยะเวลาที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ โดยเฉลี่ยระยะเวลาที่ต้องทำการเปลี่ยนจะอยู่ที่ประมาณ 6 เดือนหรือขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละโรงงาน เพื่อให้เครื่องจักรทำงานได้อย่างราบรื่น 

4. ตรวจสอบภายในของเกียร์ ตรวจสอบฟันเฟือง ตรวจสภาพของเฟือง ว่ามีรอยสึกเหรอจากการใช้งานหรือไม่ เพื่อเตรียมแผนการซ่อมบำรุงก่อนเกิดความเสียหายและปัญหาที่อาจเกิดขึ้น 

5. ตรวจสอบระบบการกระจายน้ำของ Nozzle ทำการตรวจสอบว่ามี Nozzle หลุด แตกหัก เสียหายหรือไม่ เพื่อป้องกันแรงดันน้ำจากท่อกระจายน้ำที่เชื่อมต่อกับ Nozzle กระทบไปโดน Fill pack เป็นรูเสียหายได้ 

6. ตรวจสอบ Fill pack และ Drift Eliminator เพื่อหาความเสียหายหรือการอุดตัน 

7. ตรวจสอบSpectrum ของเครื่องจักร เพื่อวิเคราะห์สภาพการทำงานของเครื่องจักร ว่ามีความผิดปกติจากการใช้งานหรือไม่และตรวจสอบสัญญาณจาก Vibration Probes ว่ามีการส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์ป้องกัน Dcs. อย่างถูกต้องหรือไม่

8. ตรวจเช็คสัญญาณ Oil Level Switch ว่ามีการส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์ป้องกัน Dcs. อย่างถูกต้องหรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดจากการทำงานของตัวเครื่อง

9. ตรวจสอบทุกอุปกรณ์ด้วย Visual inspection เพื่อเช็คสภาพของอุปกรณ์ว่ามีสภาพปกติพร้อมใช้งานหรือไม่

 

ปัญหาและข้อควรระวังในการทำ PM Cooling Tower

     แม้ว่าจะเห็นความสำคัญของการทำ PM ให้กับ Cooling Tower แล้ว แต่ในทางปฏิบัติ ลูกค้าส่วนใหญ่มักจะมองข้ามขั้นตอนที่สำคัญหลายอย่าง บางท่านทำเพียงแค่ 1-3 ขั้นตอนเท่านั้น และมักจะเลือกผู้ให้บริการที่มีราคาต่ำที่สุด โดยไม่ได้คำนึงถึงความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของผู้ให้บริการ ซึ่งอาจส่งผลให้การทำ PM ไม่ครบถ้วนและไม่มีประสิทธิภาพ

     ดังนั้น ในการเลือกผู้ให้บริการ PM Cooling Tower ควรคำนึงถึงความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของผู้ให้บริการเป็นสำคัญ เพราะการทำ PM Cooling Tower ต้องใช้ความรู้และทักษะเฉพาะด้าน ไม่ใช่ใครก็สามารถทำได้ การเลือกผู้ให้บริการที่ไม่มีความเชี่ยวชาญ อาจส่งผลให้การทำ PM ไม่ครบถ้วนและไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

     การทำ PM ให้กับ Cooling Tower มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานของโรงงานอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้า เนื่องจากจะช่วยป้องกันการเสียหายของเครื่องจักรและอุปกรณ์ ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม และรักษาประสิทธิภาพการทำงานของระบบ การทำ PM ที่ครบถ้วนและถูกต้องจะช่วยให้ Cooling Tower ของโรงงานใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและยาวนาน

บทความที่เกี่ยวข้อง
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy และ Cookies Policy
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ